ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

รู้หน้าที่ มีวินัย เคารพผู้ใหญ่ เป็นเด็กดี

ประวัติโรงเรียน

    ประวัติความเป็นมาโรงเรียน(โดยสังเขป) โรงเรียนเทศบาล 3 (อินทรัมพรรย์ บุญประคองพิทยาคม) วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2514 พระสมุห์วิชัย ปสนโนเจ้าอาวาสวัดนาควัชรโสภณ(วัดช้าง) พร้อมด้วยพระธรรมโสภณ, พระเทพวราภรณ์ เจ้า คุณพระราชมุนี พระอริยะเมธี เป็นผู้คิดให้มีการจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในวัด เพื่อให้เป็นสถานที่เรียนของเด็กใน ย่านใกล้เคียงกับวัดในอนาคตต่อไป ต่อมาพระสมุห์วิชัย ปสนโน ได้ติดต่อนางอุไร อินทรัมพรรย์ กับนางอ าพันธ์ บุญประคอง ขอความช่วยเหลือและก็ได้รับการสนับสนุนขอความร่วมมือร่วมใจจากนายจรูญ และ นางอุไร อินทรัมพรรย์ เป็นเงิน 115,000 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) กับนางอ าพันธ์ บุญประคอง อุทิศ ร่วมช่วยเหลืออีกเป็นเงิน 35,000บาท(สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,000 บาท(หนึ่งแสน ห้าหมื่นบาทถ้วน) พระสมุห์วิชัย ปสนโน จึงดดำเนินการแจ้งเรื่องให้เทศบาลเมืองก าแพงเพชร พร้อมกับยกที่ดินของวัด ให้เป็นที่จัดสร้างอาคารเรียนต่อไปและขอให้ทางเทศบาลก่อสร้างตามแบบ 004 ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการดัดแปลงเป็นตึกแบบแปลนของทางกรมโยธาเทศบาล วงเงินดังกล่าวไม่เพียงพอ เทศบาล เมือง ก าแพงเพชรจึงได้อนุมัติเงินอุดหนุนสมทบจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2

    เป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สมทบกับเงินอุทิศเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) เทศบาลเมืองก าแพงเพชร จึงดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน มีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 30 เมตร สองชั้น จำานวน 8 ห้อง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เสด็จประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ า เดือน 4 ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2514 เวลา 09.59 น. อาคารเรียนได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

    การตั้งชื่อโรงเรียนได้ให้ใช้นามสกุลของบุคคลผู้อุทิศเงินร่วมการก่อสร้างเป็นชื่อโรงเรียนโดยให้ชื่อ โรงเรียนเทศบาล 3 (อินทรัมพรรย์ บุญประคองพิทยาคม) และได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการ โรงเรียนก่อตั้ง ในสมัยนายสมศักดิ์ ศิริไพบูลย์ เป็นนายกเทศมนตรี และนายสำราญ ราชประสิทธิ์ ปลัดเทศบาลเมือง ก าแพงเพชร รับมอบอาคารและเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2515 และเริ่มทำการสอน ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 มีนายสงวน พิทธยะพงษ์ เป็นครูใหญ่

วิสัยทัศน์

“พัฒนาผู้เรียนให้เป็น คนดี คนเก่ง และมีคุณค่า ด้วยบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

1.1 ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เป็น คนดี คนเก่ง และมีคุณค่า

1.2 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

1.3 ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

1.4 ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์

4.1 ผู้เรียนมีศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพ

4.2 ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

4.3 บุคลากรมีประสิทธิภาพ

4.4 สถานศึกษามีการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

4.5 สถานศึกษามีความพร้อมด้านแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

© 2019 สงวนลิขสิทธิ์